วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเภทของปุ๋ยและการให้ปุ๋ย


ประเภทของปุ๋ยและการใส่ปุ๋ย


อาหารหรือปุ๋ย พืชทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อไปบำรุงสร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืช อาหารของพืชประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ หลายธาตุด้วยกัน ถ้าหากขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือมีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ตามปกติ ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นอาหารของต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.ธาตุหลัก             เป็นธาตุที่ต้นไม้ มีความต้องการมากกว่าธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ถ้าขาดธาตุหนึ่งธาตุใด ต้นไม้จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัด พืชต้องการนำไปบำรุงเพื่อการเจริญเติบโตมากกว่าธาตุอื่น ดิน ทั่วไปส่วนมากมีธาตุทั้ง 3 นี้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ
ธาตุไนโตรเจน ต้นไม้ที่ขาดธาตุไนโตรเจนจะทำให้ใบเล็กและสีไม่เขียวเท่าที่ควร เพราะธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่สร้างความเจริญเติบโตทางใบ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามมีใบเขียวและใหญ่น่าดู แต่ถ้าใส่ธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ต้นไม้จะเจริญแต่ทางใบแต่ต้นอ่อนแอไม่มีกำลังที่จะต่อต้านโรค มักเกิดโรคง่ายลำต้นไม่สามารถจะทนน้ำหนัก หนักได้ง่าย และที่สำคัญถ้าเป็นต้นไม้ดอก มักไม่ค่อยออกดอก
ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่ช่วยทำให้ต้นไม้มีลำต้นแข็งแรง รากเจริญแผ่ออกง่ายช่วยทำให้แตกหน่อเร็ว และช่วยทำให้ต้นไม้ออกดอกเร็วและได้ดอกที่สมบูรณ์ ต้นไม้ที่ขาดธาตุนี้จะสังเกตได้ง่ายคือต้นแคระแกรน ลีบอ่อนแอ ไม่แข็งแรง รากมีน้อยใบมักจะเขียวจัดหรือเขียวอมม่วง ดอกออกช้า แต่ถ้าใส่ธาตุนี้มากไป ก็ทำให้ต้นไม้แก่และออกดอกเร็วเกินไปใบจะเล็กและสั้นกว่าปกติ
ธาตุโปแตสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหน่อและยอด ช่วยสะสมอาหาร จำพวกแป้งไว้เลี้ยงลำต้นในระยะฟักตัว ต้นไม้ที่ขาดธาตุนี้มักจะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก ลำต้นลีบและบางทีก็ตายไปเลย หน่อที่เจริญจะหยุดเติบโต แต่ถ้าใส่ธาตุนี้มากเกินไปต้นและใบจะแคระแกรนและแข็งผิดปกติ ปลายใบจะอ่อนเหี่ยว ถ้าเป็นใบแก่ปลายใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้เกรียม การเจริญเติบโตช้าลงไป

ยังมีอีก 2 ธาตุ คือ ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม เป็นธาตุที่ต้นไม้ต้องการมากเหมือนกัน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าธาตุข้างต้น เพราะถ้าขาดแคลเซียม หรือ แมกนีเซียมต้นไม้จะแสดงอาการให้เห็นในช่วงหลังๆ เมื่อต้นไม้เติบโตเกือบเต็มที่แล้ว
2. ธาตุประกอบ เป็นธาตุที่ต้นไม้ต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ธาตุเหล่านี้ได้แก่ ธาตุ เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานิส โมลิบดินั่ม จะขาดเสียมิได้
พืชมีโอกาสได้รับอาหารได้ 3 ทางคือ
11.       ทางน้ำ เนื่องจากน้ำประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ดังนั้นเมื่อพืชดูดน้ำเข้าไปก็เท่ากับว่าได้รับไฮโดรเจและออกซิเจนเข้าไปด้วย
<2.       ทางอากาศ ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่น ๆ อีกบ้าง พืชจึงได้รับทางอากาศ<!--[endif]-->
<3.       ทางดิน  โดยต้นไม้ได้รับจากการใส่ปุ๋ย ดินแต่ละแห่งย่อมมีปริมาณของธาตุต่าง ๆ ไม่เท่ากันกัน บางที่ก็เป็นดินสมบูรณ์ บางที่ก็มีปริมาณธาตุที่ไม่เพียงพอทำให้ต้องเติมอาหารใส่ปุ๋ยบำรุงดิน หรือเติมส่วนที่ขาดให้เพียงพอแก่พืช<!--[endif]-->

ชนิดของปุ๋ย
ปุ๋ยแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.ปุ๋ยอินทรีย์     (Organic Fertilizer)
2. ปุ๋ยอนินทรีย์ ( Inorganic Fertilizer )

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้รับจากสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ปุ๋ยที่ได้จากพืชก็ได้แก่ ซากพืช ใบไม้ใบหญ้า ฟาง ขยะมูลฝอย มากองสุมทำเป็นปุ๋ยหมัก ส่วนที่ได้มาจากสัตว์ใหญ่ ได้แก่ มูลโค กระบือ เป็ด ไก่ สุกร ปุ๋ยจำพวกอินทรีย์นี้ มีธาตุที่เป็นอาหารอยู่ครบแต่ส่วนสัดของจำนวนธาตุต่าง ๆ ที่มีในปุ๋ย ไม่แน่นอน ย่อมแตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง ปุ๋ยจำพวกนี้ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วนซุย เมื่อรากของพืชได้รับอากาศสะดวกและชอนไชไปหาอาหารได้ง่าย และหากใส่มากก็ไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อต้นไม้

ปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยจำพวกแร่ธาตุซึ่งมีเนื้อธาตุอยู่เป็นปุ๋ยเฉพาะอย่าง เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมี นั่นเอง มีด้วยกันหลายอย่างคือ
1.       ปุ๋ยจำพวกไนโตรเจน ( N )  ได้แก่ ปุ๋ยขาว เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต  ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท ปุ๋ยประเภทนี้ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามมีใบเขียวใหญ่ น่ามอง <!--[endif]-->
2.       ปุ๋ยจำพวกฟอสฟอรัส ( P ) เช่น ซุเปอร์ฟอสเฟต  กระดูกสัตว์ ปุ๋ยประเภทนี้เป็นตัวประกอบในการสร้างโครงร่างของต้นไม้ ทำให้ลำต้นแข็งแรง รากเจริญแผ่ออกไป ช่วยในการแตกหน่อ จึงเหมาะแก่การให้แก่พืชผัก พืชไร่
3.       ปุ๋ยจำพวกโปแตสเซียม ( K) ได้แก่ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด็ เหมาะสำหรับพันธุ์ไม้ประดับ และไม้ใบ และปุ๋ยโปแตสเซียม เหมาะสำหรับไม้ดอกและไม้ผล
4.       ปุ๋ยผสม เป็นปุ๋ยที่มี ธาตุทั้ง 3 ชนิด รวมกันอยู่อย่างครบถ้วน เรียกว่าปุ๋ยสมบูรณ์ จะมีธาตุอื่นรวมอยู่บ้างเล็กน้อย มักรู้จักกันในสูตรการเรียกคือ N-P- K  อัตราการใช้ต้อต้นไม้แต่ละชนิดจะเหมาะสมไม่เหมือนกันเช่น ถ้าใส่ต้นไม้ทั่วไปใช้สูตร 10-15-4   หากใส่กุหลาบใช้สูตร 6-12-4  สำหรับไม้ดอกใช้ 6-8-4 หรือเป็นไม้พุ่มใช้ 4-8-4 เป็นต้น 
การให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย และวิธีการให้ปุ๋ย
 1.       เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย ปุ๋ยจะมีประโยชน์แก่ต้นไม้ ก็ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น หรืออุณหภูมิที่เหมาะสม และมีความชื้นดี แสงสว่างที่เหมาะสมได้แก่ แสงแดดในตอนเช้าจนถึงเวลาประมาณ 10.00 น. ต่อจากนั้นแสงแดดจะแรง และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้บางชนิดได้ ดังนั้นควรให้ปุ๋ยในตอนเช้า แดดจะผลิตกำลังงานทำให้รากต้นไม้จะดูดปุ๋ยขึ้นมา หากให้ปุ๋ยตอนบ่ายจะไม่ดีนักเพราะแดดชักเริ่มหมด ถ้าแดดหมด ปุ๋ยคงแฉะอยู่ในกระถางทำให้รากเน่าหรือเกิดโรคราได้ง่าย วันไหนครึ้มฟ้าครึ้มฝนไม่ควรให้ปุ๋ย เพราะไม่มีแสงแดด นอกจากนั้นหากฝนตกอาจฉะเอาปุ๋ยไปหมดเสียก่อนอีกด้วย
  2       วิธีการให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
2.1    คลุกผสมปนกับดิน ปุ๋ยจำพวกนี้ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าเป็นดินเหนียว ตากดินให้แห้ง แล้วทำให้ร่วนโดยใช้น้ำราด เมื่อดินเหนียวร่วนแล้วให้ใช้ทรายถมที่กับปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ 1 ส่วนผสมเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกไม้ประดับ
2.2    ปุ๋ยแต่งหน้า          วิธีใส่ปุ๋ยแบบนี้ต้องพรวนดินผิวหน้ารอบๆ โคนต้นเสียก่อนแล้วโรยปุ๋ยรอบๆ โคนห่างกันพอสมควร หรือ คะเนดูบริเวณที่รากแผ่ออกไป แล้วจึงพรวนกลบอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ทั้งต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง ควรใส่ปุ๋ยเป็นประจำเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของดินไว้
2.3    ปุ๋ยเร่ง   คือปุ๋ยที่ใช้เร่งให้ต้นไม้โตเร็วทันใจ การใช้ปุ๋ยน้ำนี้ต้องมีปุ๋ยพื้นอยู่แล้ว จะใช้ปุ๋ยน้ำอย่างเดียวไม่ได้ การราดปุ๋ยต้องราดรอบ ๆ ต้น เวลามีแสงแดด แต่อย่าให้ถูกใ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น