วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเภทของปุ๋ยและการให้ปุ๋ย


ประเภทของปุ๋ยและการใส่ปุ๋ย


อาหารหรือปุ๋ย พืชทุกชนิดต้องการอาหาร เพื่อไปบำรุงสร้างความเจริญเติบโตให้แก่พืช อาหารของพืชประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ หลายธาตุด้วยกัน ถ้าหากขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือมีปริมาณมากเกินไป ก็จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโตได้ตามปกติ ธาตุต่าง ๆ ที่เป็นอาหารของต้นไม้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.ธาตุหลัก             เป็นธาตุที่ต้นไม้ มีความต้องการมากกว่าธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ถ้าขาดธาตุหนึ่งธาตุใด ต้นไม้จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัด พืชต้องการนำไปบำรุงเพื่อการเจริญเติบโตมากกว่าธาตุอื่น ดิน ทั่วไปส่วนมากมีธาตุทั้ง 3 นี้ แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ
ธาตุไนโตรเจน ต้นไม้ที่ขาดธาตุไนโตรเจนจะทำให้ใบเล็กและสีไม่เขียวเท่าที่ควร เพราะธาตุไนโตรเจนเป็นธาตุที่สร้างความเจริญเติบโตทางใบ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามมีใบเขียวและใหญ่น่าดู แต่ถ้าใส่ธาตุไนโตรเจนมากเกินไป ต้นไม้จะเจริญแต่ทางใบแต่ต้นอ่อนแอไม่มีกำลังที่จะต่อต้านโรค มักเกิดโรคง่ายลำต้นไม่สามารถจะทนน้ำหนัก หนักได้ง่าย และที่สำคัญถ้าเป็นต้นไม้ดอก มักไม่ค่อยออกดอก
ธาตุฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่ช่วยทำให้ต้นไม้มีลำต้นแข็งแรง รากเจริญแผ่ออกง่ายช่วยทำให้แตกหน่อเร็ว และช่วยทำให้ต้นไม้ออกดอกเร็วและได้ดอกที่สมบูรณ์ ต้นไม้ที่ขาดธาตุนี้จะสังเกตได้ง่ายคือต้นแคระแกรน ลีบอ่อนแอ ไม่แข็งแรง รากมีน้อยใบมักจะเขียวจัดหรือเขียวอมม่วง ดอกออกช้า แต่ถ้าใส่ธาตุนี้มากไป ก็ทำให้ต้นไม้แก่และออกดอกเร็วเกินไปใบจะเล็กและสั้นกว่าปกติ
ธาตุโปแตสเซียม เป็นธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหน่อและยอด ช่วยสะสมอาหาร จำพวกแป้งไว้เลี้ยงลำต้นในระยะฟักตัว ต้นไม้ที่ขาดธาตุนี้มักจะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก ลำต้นลีบและบางทีก็ตายไปเลย หน่อที่เจริญจะหยุดเติบโต แต่ถ้าใส่ธาตุนี้มากเกินไปต้นและใบจะแคระแกรนและแข็งผิดปกติ ปลายใบจะอ่อนเหี่ยว ถ้าเป็นใบแก่ปลายใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้เกรียม การเจริญเติบโตช้าลงไป

ยังมีอีก 2 ธาตุ คือ ธาตุแคลเซียม และแมกนีเซียม เป็นธาตุที่ต้นไม้ต้องการมากเหมือนกัน แต่มีความสำคัญน้อยกว่าธาตุข้างต้น เพราะถ้าขาดแคลเซียม หรือ แมกนีเซียมต้นไม้จะแสดงอาการให้เห็นในช่วงหลังๆ เมื่อต้นไม้เติบโตเกือบเต็มที่แล้ว
2. ธาตุประกอบ เป็นธาตุที่ต้นไม้ต้องการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ธาตุเหล่านี้ได้แก่ ธาตุ เหล็ก สังกะสี ทองแดง แมงกานิส โมลิบดินั่ม จะขาดเสียมิได้
พืชมีโอกาสได้รับอาหารได้ 3 ทางคือ
11.       ทางน้ำ เนื่องจากน้ำประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ดังนั้นเมื่อพืชดูดน้ำเข้าไปก็เท่ากับว่าได้รับไฮโดรเจและออกซิเจนเข้าไปด้วย
<2.       ทางอากาศ ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และอื่น ๆ อีกบ้าง พืชจึงได้รับทางอากาศ<!--[endif]-->
<3.       ทางดิน  โดยต้นไม้ได้รับจากการใส่ปุ๋ย ดินแต่ละแห่งย่อมมีปริมาณของธาตุต่าง ๆ ไม่เท่ากันกัน บางที่ก็เป็นดินสมบูรณ์ บางที่ก็มีปริมาณธาตุที่ไม่เพียงพอทำให้ต้องเติมอาหารใส่ปุ๋ยบำรุงดิน หรือเติมส่วนที่ขาดให้เพียงพอแก่พืช<!--[endif]-->

ชนิดของปุ๋ย
ปุ๋ยแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.ปุ๋ยอินทรีย์     (Organic Fertilizer)
2. ปุ๋ยอนินทรีย์ ( Inorganic Fertilizer )

ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยที่ได้รับจากสิ่งที่มีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ปุ๋ยที่ได้จากพืชก็ได้แก่ ซากพืช ใบไม้ใบหญ้า ฟาง ขยะมูลฝอย มากองสุมทำเป็นปุ๋ยหมัก ส่วนที่ได้มาจากสัตว์ใหญ่ ได้แก่ มูลโค กระบือ เป็ด ไก่ สุกร ปุ๋ยจำพวกอินทรีย์นี้ มีธาตุที่เป็นอาหารอยู่ครบแต่ส่วนสัดของจำนวนธาตุต่าง ๆ ที่มีในปุ๋ย ไม่แน่นอน ย่อมแตกต่างกันไปมากบ้างน้อยบ้าง ปุ๋ยจำพวกนี้ช่วยให้ดินโปร่ง ร่วนซุย เมื่อรากของพืชได้รับอากาศสะดวกและชอนไชไปหาอาหารได้ง่าย และหากใส่มากก็ไม่ค่อยเป็นอันตรายต่อต้นไม้

ปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยจำพวกแร่ธาตุซึ่งมีเนื้อธาตุอยู่เป็นปุ๋ยเฉพาะอย่าง เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือปุ๋ยเคมี นั่นเอง มีด้วยกันหลายอย่างคือ
1.       ปุ๋ยจำพวกไนโตรเจน ( N )  ได้แก่ ปุ๋ยขาว เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต  ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรท ปุ๋ยประเภทนี้ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามมีใบเขียวใหญ่ น่ามอง <!--[endif]-->
2.       ปุ๋ยจำพวกฟอสฟอรัส ( P ) เช่น ซุเปอร์ฟอสเฟต  กระดูกสัตว์ ปุ๋ยประเภทนี้เป็นตัวประกอบในการสร้างโครงร่างของต้นไม้ ทำให้ลำต้นแข็งแรง รากเจริญแผ่ออกไป ช่วยในการแตกหน่อ จึงเหมาะแก่การให้แก่พืชผัก พืชไร่
3.       ปุ๋ยจำพวกโปแตสเซียม ( K) ได้แก่ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด็ เหมาะสำหรับพันธุ์ไม้ประดับ และไม้ใบ และปุ๋ยโปแตสเซียม เหมาะสำหรับไม้ดอกและไม้ผล
4.       ปุ๋ยผสม เป็นปุ๋ยที่มี ธาตุทั้ง 3 ชนิด รวมกันอยู่อย่างครบถ้วน เรียกว่าปุ๋ยสมบูรณ์ จะมีธาตุอื่นรวมอยู่บ้างเล็กน้อย มักรู้จักกันในสูตรการเรียกคือ N-P- K  อัตราการใช้ต้อต้นไม้แต่ละชนิดจะเหมาะสมไม่เหมือนกันเช่น ถ้าใส่ต้นไม้ทั่วไปใช้สูตร 10-15-4   หากใส่กุหลาบใช้สูตร 6-12-4  สำหรับไม้ดอกใช้ 6-8-4 หรือเป็นไม้พุ่มใช้ 4-8-4 เป็นต้น 
การให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย และวิธีการให้ปุ๋ย
 1.       เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย ปุ๋ยจะมีประโยชน์แก่ต้นไม้ ก็ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น หรืออุณหภูมิที่เหมาะสม และมีความชื้นดี แสงสว่างที่เหมาะสมได้แก่ แสงแดดในตอนเช้าจนถึงเวลาประมาณ 10.00 น. ต่อจากนั้นแสงแดดจะแรง และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้บางชนิดได้ ดังนั้นควรให้ปุ๋ยในตอนเช้า แดดจะผลิตกำลังงานทำให้รากต้นไม้จะดูดปุ๋ยขึ้นมา หากให้ปุ๋ยตอนบ่ายจะไม่ดีนักเพราะแดดชักเริ่มหมด ถ้าแดดหมด ปุ๋ยคงแฉะอยู่ในกระถางทำให้รากเน่าหรือเกิดโรคราได้ง่าย วันไหนครึ้มฟ้าครึ้มฝนไม่ควรให้ปุ๋ย เพราะไม่มีแสงแดด นอกจากนั้นหากฝนตกอาจฉะเอาปุ๋ยไปหมดเสียก่อนอีกด้วย
  2       วิธีการให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
2.1    คลุกผสมปนกับดิน ปุ๋ยจำพวกนี้ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าเป็นดินเหนียว ตากดินให้แห้ง แล้วทำให้ร่วนโดยใช้น้ำราด เมื่อดินเหนียวร่วนแล้วให้ใช้ทรายถมที่กับปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ 1 ส่วนผสมเข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกไม้ประดับ
2.2    ปุ๋ยแต่งหน้า          วิธีใส่ปุ๋ยแบบนี้ต้องพรวนดินผิวหน้ารอบๆ โคนต้นเสียก่อนแล้วโรยปุ๋ยรอบๆ โคนห่างกันพอสมควร หรือ คะเนดูบริเวณที่รากแผ่ออกไป แล้วจึงพรวนกลบอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ทั้งต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง ควรใส่ปุ๋ยเป็นประจำเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของดินไว้
2.3    ปุ๋ยเร่ง   คือปุ๋ยที่ใช้เร่งให้ต้นไม้โตเร็วทันใจ การใช้ปุ๋ยน้ำนี้ต้องมีปุ๋ยพื้นอยู่แล้ว จะใช้ปุ๋ยน้ำอย่างเดียวไม่ได้ การราดปุ๋ยต้องราดรอบ ๆ ต้น เวลามีแสงแดด แต่อย่าให้ถูกใ

ประวัติของเห็ดฟาง


ประวัติของเห็ดฟาง

ชื่อสามัญ Straw Mushroom
ชื่อวิทยาศาสตร์ Volvariella vovacea(Bull. Ex.Fr.) Sing
ชื่ออื่น เห็ดบัว ภาคอีสานเรียกว่า เห็ดเฟียง
ถิ่นกำเนิด ประเทศจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นตามกองฟาง ดอกตูมมีลักษณะเป็นก้อนกลมสีขาว มีเยื่อหุ้มกระเปาะคล้ายถ้วย รองรับ ฐานเห็ดเรียกว่า ผ้าอ้อมเห็ด เมื่อหมวกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะกางออก คล้ายร่ม ด้านบนของหมวกเห็ดจะสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม ผิวเรียบและอาจมีขนละเอียดคลุมอยู่บางๆคล้ายเส้นไหม ด้านล่างมีครีบดอกบางๆ ก้านดอกสีขาว เนื้อในแน่น ละเอียด
ฤดูกาล ตลอดปี

แหล่งปลูก สระบุรี นครนายก อยุธยา อ่างทอง สงขลา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สุราษร์ธานี และนครศรีธรรมราช การกิน เห็ดฟางนำมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่นยำเห็ดฟาง เห็ดฟางผัด ต้มยำเห็ดฟาง และแกงเลียงใส่เห็ดฟาง เป็นต้น
สรรพคุณทางยา เห็ดฟางมีสาร vovatoxin ช่วยป้องกันการเติบโตของไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดปํญหาเกี่ยวกับไขมันในเส้นเลือดและโรคหัวใจได้
คุณค่าทางอาหาร เห็ดฟาง 100 กรัม ให้พลังงาน 35 kcal โปรตีน 3.2 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม แคลเซียม 8 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 7 มิลลิกรัม

ลักษณะทั่วไปของเห็ดฟาง

สัณฐานวิทยา

เป็นเห็ดที่มีลักษณะดอกโตปานกลาง สีของเปลือกหุ้มรวมทั้งหมวกดอก มีสีขาวเทาอ่อนไปจนถึงดำขึ้นอยู่ กับสายพันธุ์ และสภาพแวดล้อม เส้นผ่าศูนย์ กลางของหมวกเมื่อโตเต็มที่ ประมาณ 4-12 ซม. หลังจากดอกเห็ดพัฒนาจากเส้นใยชั้น 2 มารวมกัน
รูปร่างทางสัณฐานวิทยาของเห็ดฟาง
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มแรกจากการเกิดดอก หรือระยะเข็มหมุด (pinhead stage) หลังการโรยเชื้อเห็ดแล้ว 5-7 วัน เส้นใยจะมารวมตัวกันเป็นจุดสีขาว มีขนาดเล็ก (ที่อุณหภูมิประมาณ(28?-32?ซ)
ระยะที่ 2 ระยะดอกเห็ดเป็นกระดุมเล็ก (tiny button stage) หลังจากระยะแรก 15-30 ชม. หรือ1 วัน ดอกเห็ดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นรูปดอกเห็ดลักษณะกลมยกตัวขึ้นจากวัสดุเพาะ
ระยะที่ 3 ระยะกระดุม (button stage) หลังจากระยะ 2 ประมาณ 12-20 ชม. หรือ1 วันทางด้านฐานโตกว่าส่วนปลายแต่ยังมีลักษณะกลมรีอยู่ภายในมีการแบ่งตัวเป็น ก้านดอกและครีบดอก
ระยะที่ 4 ระยะรูปไข่ หรือระยะดอกตูม (egg stage) เป็นระยะต่อเนื่องจากระยะที่ 3 หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 32 ?ซ จะใช้เวลาเพียง 8-12 ชม. ดอกเห็ดเริ่มมีการเจริญเติบโตทางความยาวของก้านดอกและความกว้างของหมวกดอก เปลือกหุ้มดอกบางลง และเรียวยาวขึ้นคล้ายรูปไข่ ส่วนมากจะมีการเก็บเกี่ยวในระยะนี้ เพราะเป็นระยะที่ให้น้ำหนักสูงสุด และเป็นลักษณะที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานมากที่สุด รวมทั้งเป็นขนาดที่โรงงานแปรรูป (บรรจุกระป๋อง) ต้องการ
ระยะที่ 5 ระยะยืดตัว (elongation stage) หลังระยะที่ 4 เพียง 3-4 ชม. การเจริญเติบโตของก้านและหมวกดอกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่วนบนสุดของเปลือกหุ้มดอกแตกออกอย่างไม่ เป็นระเบียบ (irregular) สีของผิวหมวกดอกมีสีเข้มขึ้น แต่ก้านและครีบจะเป็นสีขาวหลังระยะนี้เป็น
ระยะที่ 6 หรือระยะแก่ (mature stage) ดอกจะบานเต็มที่ มีสปอร์ ที่ครีบเป็นจำนวนมาก
รูปร่างของเห็ดฟาง (Structure of straw mushroom)
เห็ดฟางประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หมวกดอก (cap หรือ pileus) มีลักษณะคล้ายร่มสีเทาค่อนข้างดํา โดยเฉพาะตรงกลางหมวกดอกจะมีสีเข้มกว่าบริเวณขอบหมวก ผิวเรียบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 4-12 ซม. ขึ้นอยู่กับอาหารและสภาพแวดล้อม
2. ครีบ (gill) คือส่วนที่อยู่ใต้หมวกดอกเป็นแผ่นเล็กๆวางเรียงเป็นรัศมีรอบก้านดอก ดอกเห็ดที่โตเต็มที่จะมีครีบประมาณ300-400 ครีบ ห่างกัน 1 มม. หลังการปริแตกของดอกแล้ว 3-6 ชม. สีของครีบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเข้มในที่สุด
3. สปอร์ (basidiospore) คือส่วนที่ทําหน้าที่คล้ายเมล็ดพันธุ์ สปอร์ ของเห็ดฟางมีลักษณะเป็นรูปไข่ (egg shape) มีขนาดเล็กมาก คือมีความยาวประมาณ 7-8 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 ไมครอน
4. ก้านดอก (stalk หรือ stipe) คือส่วนชูหมวกดอก เป็นตัวเชื่อมหมวกดอกกับส่วนโคนดอก และอยู่ตรงกลางหมวกดอกเห็ด มีการเรียงตัวของเส้นใยขนานไปกับลักษณะของก้านดอกที่เรียวตรงโดยส่วนฐานจะโตกว่าเล็กน้อย มีสีขาวรียบ ไม่มีวงแหวนหุ้ม ก้านดอกยาวประมาณ 4-14 ซม. และเสนผ่าศูนย์ กลางประมาณ 0.5-2 ซม.
5. เปลือกหุ้มโคน (volva) คือ ส่วนของเนื้อเยื่อนอกสุดของดอกเห็ดมีหน้าที่หุ้มดอกเห็ดไว้ทั้งหมด ในขณะที่การเจริญของหมวกและก้านดอกเห็ดเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนเปลือกหุ้มเจริญช้าลง ทําให้ส่วนบนสุดปริแตกออก เมื่อดอกเห็ดดันเยื่อหุ้มออกมา เนื้อเยื่อจะเหลือติดที่โคนดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายถ้วยรองรับโคน

การเพาะเห็ดฟาง



 


ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางตะกร้าอย่างง่าย


 
1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด

2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า

3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ

4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1

5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า

6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง

7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย

8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น

9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า
 
รูปแบบกระโจมที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
กระโจมแบบเต็นท์ลูกเสือ

กระโจมแบบสุ่มไก

ชมรมเกษตร

การเพาะเห็ดฟาง


ประวัติส่วนตัว

นายอาดะนัน  หะโมะ 93ม8ต.บุดีอ.เมื่อง จ.ยะลา
สถานที่ทำงาน โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา

 
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางตะกร้าอย่างง่าย


 
1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด

2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า

3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ

4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1

5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า

6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง

7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย

8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น

9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า
 
รูปแบบกระโจมที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
กระโจมแบบเต็นท์ลูกเสือ

กระโจมแบบสุ่มไก

ชมรมเกษตร